วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันที่ 14 กุมภาพันธ์  2556

การเรียนการสอน

-   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ไปร่วมงานที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น เป็็นโครงการแก้วน้ำส่วนตัว ประมาณ 10 โมงเช้า เข้าห้องเรียน กลุ่ม3 นำเสนอแผนการสอนเเละ ปฏิบัติสอนหน้าชั้นเรียน







บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556

การเรียนการสอน

- อาจารย์ให้เพื่อนสาธิตการสอน ... หน่วย ต้นไม้ ...

วันจันทร์  (เรื่อง ประเภท)
   -   อาจารย์ยกตัวอย่างจากสัปดาห์ที่แล้ว
   - ใช้คำถามเชิญชวน
   - แยกประเภทของต้นไม้

วันอังคาร (เรื่อง ลักษณะของต้นไม้)
   -  ถามความรู้ที่ได้จากเมื่อวาน
   - นำต้นไม้มาให้เด็กสังเกต
   - ส่งต้นไม้ให้เด็กๆดู
   -  ดูความแตกต่าง ของ ราก พื้นผิว สี เป็นต้น เขียนเป็นตาราง
   - นำเสนอเป็นวงกลม "ยูเนี่ยน"

วันพุธ (เรื่อง ส่วนประกอบ)
   - ใช้คำถาม
   - นำรูปภาพมาให้เด็กดู

 วันพฤหัส (เรื่อง ประโยชน์)
   - ใช้นิทานในการสอน

วันศุกร์ (เรื่อง โทษของต้นไม้)
  - ให้รูปภาพที่ได้รับอันตรายจ่กต้นไม้มาให้เด็กดู
  - สามารถใช้นิทานได้

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 31 มกราคม 2556

การเรียนการสอน


- อาจารย์ให้เพื่อนสาธิตการสอน   " หน่วย ... ดิน "


วันจันทร์  (เรื่อง ดิน)

    1.  การนำเข้าสู่บทเรียน โดย การเปิดประเด็นคำถาม
    2.  เขียน "เป็นคำ" เพื่อให้มีประสบการณ์
    3.  ควรเขียนให้อยู่บรรทัดเดียวกับ 10 คำ (ฐานสิบ)
    4. ไม่ควรขัดความคิดของเด็ก
    5. .ใส่ตัวเลขกำกับ
    6. แยกประเภท (นับทั้งหมด) เริ่มจากด้ายซ้าย -> ขวา
    7. เปรียบเทียบ 1:1 (เพื่อให้เด็กเห็นการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน)

วันอังคาร (เรื่อง ลักษณะของดิน)

    1. ทบทวนเรื่องของเมื่อวาน
    2. ใช้คำถามเชิญชวน และสอนต่อ
    3. ใช้วิธีเขียนตารางสรุป  -> สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

วันพุธ (เรื่อง ในดิน)

    1. ทบทวนเรื่องเดิม
    2. คำถาม "ในดินมีอะไรบ้าง?"
    3. พาไปสังเกตข้างนอก
    4. ครูเตรียมสิ่งของมาแทนการเขียน เช่น เปลือกหอย, กิ่งไม้, ก้อนหิน
    5. สอนเรื่องการหาร

วันพฤหัสบดี (เรื่อง ประโยชน์ของดิน)

    1.ทบทวน
    2. ประโยชน์ของดิน (ให้เล่านิทาน หรือ เพลง ) 

วันศุกร์ (เรื่อง ข้อควรระวัง)

    1. ทบทวนสิ่งที่อยู่ในดิน
    2.  ข้อควรระวัง (ใช้นิทาน)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 24 มกราคม 2556

การเรียนการสอน

มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
    สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
    สาระที่ 2  การวัด
    สาระที่ 3  เรขาคณิต
    สาระที่ 4  พีชคณิต
    สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


** อาจารย์ให้เทคนิคการสอนโดยสอดแทรก การเล่านิทาน ** 



บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 17 มกราคม 2556

การเรียนการสอน

หลักการจัดประสบการณ์ให้เด็ก 
            -> ต้องหาเรื่องที่จะต้องสอน   เช่น ... ให้เด็กถือตะเกียบใส่ในช่องแล้วนำมาใส่ในช่อง เราสามารถสอนเรื่อง การนับจำนวน   ตัวเลข 

สิ่งที่ต้องมี ...
     สาระสำคัญ                =   เนื้อหา
     ประสบการณ์สำคัญ   =    สื่งที่จะได้รับ

** สอนเด็กในเรื่องของเลข "ฐานสิบ" **

การสร้างเครื่องมือในการวัด : ฝ่ามือ ศอก นิ้ว เชือก คืบ

  




บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 10 มกราคม 2556

การเรียนการสอน

- นำเสนอ Mind Mapping และแก้ไข้เนื้อหาบางส่วน

- อาจารย์ให้นำ Mind Mapping มาแตกความคิดทำเป็นตาราง 5 วัน  โดยในตารางมีหัวข้อดังนี้ ...

     1. สาระที่ควรเรียนรู้
     2. สาระการเรียนรู้  = อ้างอิงจาก มาตารฐานคณิตศาสตร์
     3. การบรูณาการ



บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันที่ 3 มกราคม 2556

การเรียนการสอน

พื้นที่ สี่เหลี่ยม สามารถสอนได้ดังนี้
 - รูปทรง
 - พื้นที่
 - การวัด
 - การนับ
 - จำนวน
 - ตัวเลข = เขียน,หยิบวาง(การพูด)
 - เปรียบเทียบ = 8 แผ่น , 4 แผ่น
 -  จับคู่ = ( 1 : 1 )
 - แทนสัญลักษณ์ โดย ภาพ -> อ.เยาวภา
 - เศษส่วน = แนวตั้ง ,แนวทแยง

- อาจารย์ให้จับคู่ผลิตสื่อ จิ๊กซอว์ จากกระดาษลังโดยใช้ขนาด 4" x 4" , 6" x 6" และ 8" x 8"




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันที่ 27 ธันวาคม 2555

การเรียนการสอน
** ไม่มีการเรียนการสอน **


บันทึกการเรียนครั้ง 8

วันที่ 20 ธันวาคม 2555

การเรียนการสอน

**ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสอบกลางภาค **


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันที่ 13 ธันวาคม 2555

การเรียนการสอน

คู่มือกรอบมาตรฐาน : สิ่งที่จะบอกความน่าเชื่อถือ

มาตราฐาน : ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ, มีคุณภาพ, แนวทางในการนำไปใช้


ภาษาและ คณิตศาสตร์ = เป็นหลักในการเรียนรู้




มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
      สาระที่ 2  การวัด
      สาระที่ 3  เรขาคณิต
      สาระที่ 4  พีชคณิต
      สาระที่ 5   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การวัด คือ เครื่องมือที่ใช้วัดขนาด ปริมาณ เช่น...   ปรอท  ไม้เมตร ตลับเมตร  เป็นต้น

- อาจารย์สั่งงาน : ให้วิเคราะ "หน่วยการเรียนรู้" โดยแบ่งกลุ่มละ 5 คน

กลุ่มฉันทำ "หน่วย..ผม"








วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 6 ธันวาคม 2555

การเรียนการสอน



1. อาจารย์ให้นักศึกษาเอากล่องที่ตัวเองเตรียม แล้วให้ดูว่ากล่องที่เตรียมมาเป็นรูปทรงอะไร
หลักการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
       -การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำ
การจัดประสบการณ์  คือ  การที่ให้เด็กสัมผัสด้วยตนเองแต่ต้องอยู่ในกรอบที่ครูวางไว้
    -เด็กจะคิดเล่นตามอิสระ
    -ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือสนับสุนน




2. อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อเรื่องให้ว่า ให้นักศึกษาวางกล่องตามความคิดของตัวเองโดยที่ไม่ให้เพื่อนบอกว่าต้องวางตรงตำแหน่งไหน  และกลุ่มของฉันก็วางกล่องตามจินตนาการ
ผลงานของกลุ่มฉันชื่อ "เรือปิโตเลียมไทย"
 สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนแต่ละกลุ่มได้ตั้งชื่อว่า
      1. เจสกีกับรถแทคเตอร์
      2. หุ่นยนต์   
      3. หนอน

         จากการต่อกล่องสามารถสอนเด็กในเรื่องของ ตำแหน่ง รูปทรง จำนวน เรื่องของทิศทาง การเรียงลำดับ และได้รู้จักการแก้ไขปัญหา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555

การเรียนการสอน

มาตราฐาน คือ  การวัด, เกณฑ์, สื่งที่เชื่อถือได้

-  อาจารย์ : ให้จับคู่ 2 คน ทำเรื่องขอบข่ายคณิตศาสตร์ที่สอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว..  โดยแบ่งคู่ละ 1 หัวข้อ



หน่วย  สัตว์

1. การนับ = นับสัตว์ในสวนสัตว์
2. ตัวเลข  = เป็นตัวกำกับตัวเลขจากมาไปหาน้อย  ( ตัวเลข  -> แทนค่าจำนวน )
3. จับคู่     = ตัวเลขกับตัวเลข และรูปทรง
4. จัดประเภท = แยกประเภทของสัตว์ คือ สัตว์บก และ  สัตว์น้ำ
5. การเปรียบเทียบ =  สัตว์บก กับสัตว์น้ำ สัตว์ชนิดใดมากกว่า หรือน้อยกว่ากัน
6. การจัดลำดับ =  หาค่า, จับคู่ 1 : 1(ถ้าเด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขากพอ) ,นำมาเรียงลำดับ
7. รูปทรง และพื้นที่ = ไม่จำเป็นต้องจัด "ลำตัว" ของสัตว์ เสมอไป สามารถจัดเป็น ขนาดของกรงสัตว์ หรือ กำหนดรูปทรงแล้วถามว่า ... รูปทรงขนาดนี้สัตว์จะอยู่ในกรงได้ประมาณกี่ตัว ?
8. การวัด = วัดอาหารที่สัตรว์กินในแต่ละวัน,วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู๋
9. เซต = การจัดตู้ปลา อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ?
10. เศษส่วน = (สอนพื้นฐานให้กับเด็ก) การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่ากัน >> เน้นให้เด็กแบ่งครึ่ง ...
11. การทำตวามแบบ = สร้างแบบ และทำตวามแบบ
12. การอนุรักษ์ = ดินน้ำมัน (รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ปริมาณเท่าเดิม) ,ทราย (เอาทรายใส่ขวดแล้วเอาแม่พิมพ์มาทำให้รูปร่างต่างกัน)



-   อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องมาคนละ 1 กล่อง รูปทรงแบบไหนก็ได้  และท้ายคาบให้เขียนความรู้สึกในวันนี้ส่ง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

การเรียนการสอน

อาจารย์ : สอนเรื่อง ขอบข่ายของคณิตศาสตร์


ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

              นิตยา  ประพฤติกิจ.2541:17-19

การนับ  (Counting)  คือ เป็นการนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและจำนวนที่ลดลง
ตัวเลข   (Number)   คือ การแทนค่าที่เป็นจำนวนตัวเลข การเรียงลำดับ
การจับคู่  (Matching) คือ  กรจับคู่ของความเหมือน  รูปร่าง
การจัดประเภท  (Classification) คือ การใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่ม
การเปรียบเทียบ  (Comparing)  คือ การสังเกต กรประมาณด้วยตา
การจัดลำดับ (Ordering)  คือ การจัดลำดับให้เป็นหมวดหมู่
รูปทรงและเนื้อที่ (Shape  and  space ) คือ  การมีพื้นที่มีปริมาณ มีความสูง ความกว้าง
การวัด (Measurement) คือ การใช้เครื่องมือในการวัด จะได้ค่าได้ปริมาณที่ได้เป็นตัวเลข
เซต (Set) คือ การจัดกลุ่ม
เศษส่วน (Fraction) คือ ให้เด็กได้รู้ของทั้งหมดจำนวนเต็ม
การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)  คือ  แบบพื้นฐานที่เข้าใจร่วมกัน
การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น การยกตัวอย่างของน้ำในแก้วน้ำ